แผนเตรียมรับสถานการณ์ภัยพิบัติด้านปศุสัตว์ในพื้นที่เขต 7

ภัยแล้ง

1. สาเหตุการเกิดภัยแล้ง

เกิดจากธรรมชาติ
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก เช่น ระบบการหมุนเวียนหรือส่วนผสมของบรรยากาศเปลี่ยนแปลง สภาวะอากาศในฤดูร้อนที่ร้อนมากกว่าปกติ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เช่น ฝนทิ้งช่วง ฝนตกน้อย ดินเก็บความชื้นต่ำได้ไม่ดี ปริมาณน้ำใต้ดินมีน้อย
การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล
ความผิดปกติของตำแหน่งร่องมรสุมทำให้ฝนตกในพื้นที่ไม่ต่อเนื่อง
ความผิดปกติเนื่องจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่านประเทศน้อยกว่าปกติ

เกิดจากการกระทำของมนุษย์
การใช้น้ำอย่างไม่เหมาะสมหรือสิ้นเปลืองเกินไป ทั้งการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำใต้ดินลดลง
พฤติกรรมการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ทำลายชั้นโอโซน เกิดภาวะเรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เช่น การเผาพลาสติก น้ำมัน และถ่านหิน
การพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าส่งผลให้ความชื้นสัมพัทธ์ไม่เพียงพอ เนื่องจากขาดต้นไม้ซึมซับน้ำ และเกิดการบุกรุกพื้นที่ป่า ถือครองกรรมสิทธิ์ปลูกพืชไร่
ระบบการเพาะปลูกและความถี่ของการเพาะปลูก
ขาดการวางแผนการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์จากน้ำฝน


2. ผลกระทบของภัยแล้ง

ผลิตผลทางการเกษตรลดลง ไม่เพียงพอต่อการบริโภค และการเลี้ยงปศุสัตว์
เกิดการกัดเซาะ กัดกร่อนภูมิทัศน์ พื้นดินแห้งแล้งและเกิดการพังทลายของผิวดิน
เกิดฝุ่นละออง พายุฝุ่น เพราะพื้นดินแห้งแล้งขาดน้ำ
ประชาชนเกิดความอดอยากเนื่องจากการขาดน้ำในการอุปโภคบริโภค
เกิดความเสียหายต่อที่อยู่อาศัยของสัตว์ ที่ได้รับผลกระทบทั้งบนบกและในน้ำ
เกิดภาวะขาดน้ำ ขาดสารอาหาร และเพิ่มโอกาสเกิดโรคระบาด
เกิดการอพยพย้ายถิ่นของประชากร
ผลผลิตกระแสไฟฟ้าลดลง เนื่องจากการไหลของน้ำผ่านเขื่อนลดลง
การประกอบการด้านอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก เพราะขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการขบวนการผลิต
เพิ่มโอกาสการเกิดไฟป่าในช่วงเกิดภัยแล้ง


3. ช่วงเวลาการเกิดภัยแล้งในประเทศไทย

ภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเกิดใน 2 ช่วง

ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน โดยเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก) จะมีปริมาณฝนลดลงเป็นลำดับ จนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของ ปีถัดไป ซึ่งภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี

ช่วงกลางฤดูฝน ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม จะมีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหรือบางบริเวณ บางครั้งอาจครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเกือบทั่วประเทศ


4. พื้นที่ใดในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

เดือน/ภาค เหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง ตะวันออก ใต้ฝั่งตะวันออก ใต้ฝั่งตะวันตก
มกราคม - - - - - ฝนแล้ง
กุมภาพันธ์ - ฝนแล้ง ฝนแล้ง - - ฝนแล้ง
มีนาคม ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแล้ง
เมษายน ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแล้ง - ฝนแล้ง
พฤษภาคม - - - - - ฝนแล้ง
มิถุนายน ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแล้ง - -
กรกฏาคม ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแล้ง - -

แผนเตรียมรับสถานการณ์ในช่วงฤดูแล้ง (ด้านปศุสัตว์)

1. การเตรียมการรับสถานการณ์ (ก่อนเกิดภัย)

เกษตรกรที่จะได้รับการช่วยเหลือต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนด้านปศุสัตว์กับหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก่อนเกิดภัยพิบัติแล้วเท่านั้น วิธีลงทะเบียนเกษตรกรด้านปศุสัตว์ คลิกเลย

เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการป้องกันและลดความสูญเสียด้านปศุสัตว์จาเป็นให้มีการสารวจและจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1.1 การจัดเตรียมบุคลากร
1.2 การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และยานพาหนะ
1.3 การจัดเตรียมสถานที่อพยพ จุดอพยพ เส้นทางอพยพและพาหนะในการอพยพสัตว์ สู่ที่ปลอดภัย
1.4 การเตรียมพื้นที่ระดมและจัดสรรเสบียงสัตว์
1.5 การเตรียมความพร้อมให้ภาคประชาชน ชุมชนเฝ้าระวังก่อนเกิดภัย


2.ผลที่ได้รับจากการมรแผนการเตรียมรับมือ

เป็นแนวทางและคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติของเจ้าหน้าที่ (Prevention)
เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อช่วยลดความสูญเสียทางด้านปศุสัตว์จากภัยพิบัติ (Preparation)
เป็นแผนการรับมือ การเผชิญเหตุและบัญชาการเหตุการณ์เพื่อป้องและบรรเทาสาธารณภัย (Response)
เพื่อให้การช่วยเหลือและฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็ว โปร่งใสและเป็นธรรม (Recovery)


3.พื้นที่ปศุสัตว์เขต 7

พื้นที่ปศุสัตว์เขต 7 ประกอบด้วย 8 จังหวัด คือ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และประจวบคีรีขันธ์

พื้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ (ภัยแล้ง)
คลิกมุมซ้ายมือของแผนที่
1.สีแดง หมายถึง แล้งซ้ำซาก
2.สีเหลือง หมายถึง พื้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
3.สัญญลักษณ์คนวิ่ง หมายถึง จุดอพยพ


5.เสบียงอาหารสำนักงานปศุสัตว์เขต

1.เสบียงอาหารสำนักงานปศุสัตว์เขต 7

หน่วยงาน เสบียงอาหารสัตว์ทังหมด (กิโลกรัม) จำนวนคงเหลือ (กิโลกรัม)
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สุพรรณบุรี 10,000 10,000
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์กาญจนบุรี 10,000 10,000
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เพชรบุรี 24,000 24,000
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ประจวบคีรีขันธ์ 24,000 24,000

2.เสบียงอาหารสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด

หน่วยงาน เสบียงอาหารสัตว์ทังหมด (กิโลกรัม) จำนวนคงเหลือ (กิโลกรัม)
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาญจนบุรี (ยกเว้น อ.หนองปรือ,เลำขวัญ,บ่อพลอย) 30,000 30,000
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาญจนบุรี (เฉพาะ อ.หนองปรือ,เลำขวัญ,บ่อพลอย) 10,000 10,000
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุพรรณบุรี 23,260 23,260
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม 20,000 20,000
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี 33,600 33,600
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี 33,600 33,600
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสมุทรสาคร 4,800 4,800
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสมุทรสาคงคราม 4,800 4,800
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบตีรีขันธ์ (ยกเว้น อ.บำงสะพำนน้อย) 73,580 73,580

สถานที่ตั้งและเขตพื้นที่ปฏิบัติงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ในพิ้นที่เขต 7

ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ สถานที่ตั้งและติดต่อประสานงาน เขตพื้นที่ปฏิบัติงาน
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เพชรบุรี ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120
โทร 032-706-246
Fax. 032-594 052 .
E-Mail:ncpb_pbr@dld.go.th
เพชรบุรี,ราชบุรี,กาญจนบุรี,นครปฐม,
สมุทรสงคราม,สมุทรสาคร,สุพรรณบุรี
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สุพรรณบุรี ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 72180
โทร 086-169-8161
Fax. 035-481-147
E-Mail:nssp_spr@dld.go.th
สุพรรณบุรี,นครปฐม,(อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี),
(อ.หนองปรือ อ.เลาขวัญ อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี)
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ประจวบคีรีขันธ์ ตำบลกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77150
โทร 032-681-990
Fax. 032-681-990
E-Mail:nspk_pkk@dld.go.th
ประจวบคีรีขันธ์(ยกเว้น อ.บางสะพานน้อย)
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์กาญจนบุรี ตำบลซะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 71180
โทร 034-683-446
Fax. 034-683-446
E-Mail:nskn_knr@dld.go.th
กาญจนบุรี(ยกเว้น อ.หนองปรือ อ.เลาขวัญ อ.บ่อพลอย)

6.ความพร้อม ยาเวชภัณฑ์ บุคลากร และยานพาหนะ

1.รายการเวชภัณฑ์สำนักงานปศุสัตว์เขต 7

รายการเวชภัณฑ์ จำนวน
ยาลดไข้ 81 ขวด
เพนนิซิลลิน 109 ขวด
ยาทากีบ 140 กระปุก
ยาปฏิชีวนะพ่นแผล 300 กระป๋อง
ยาฆ่าเชื้อกลุ่มไดเดชิลแอมโมเนียนโบรไมต์ 80 ลิตร
ยาฆ่าเชื้อกลุ่มกลูตรารอลดีไฮด์ 15% และแอมโมเนียนคลอไรด์ 6,917 ลิตร

2.บุคลากร และยานพาหนะ

บุคลากร และยานพาหนะ จำนวน
หน่วยสัตวแพทย์เคลือนที่ (สนง.ปศข.7) 30 คน
รถยนต์ 4 ล้อ 9 คัน
รถบรรทุก 6 ล้อ 6 คัน

7.หลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564
(ด้านปศุสัตว์)

ข้อ 1. ให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในกรณีที่เป็นการจัดหาอาหารสัตว์ วัคซีนและเวชภัณฑ์รักษาสัตว์ เพื่อการฟื้นฟูสุขภาพสัตว์เลี้ยง และการจัดหาอาหารสัตว์ ตามราคาท้องตลาด หรือตามความจำเป็นเหมาะสม
ข้อ 2. การให้ความช่วยเหลือกรณีแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตายหรือเสียหาย จนไม่สามารถฟื้นฟูหรือเยียวยาให้กลับสู่สภาพเดิมได้ ให้ดำเนินการช่วยเหลือเป็นเงิน ในอัตราไร่ละ 1,980 บาท แต่ไม่เกินรายละ 30 ไร่
ข้อ 3. การให้ความช่วยเหลือกรณีสัตว์ตายหรือสูญหาย ให้ช่วยเหลือตามจำนวน ที่เสียหายจริง แต่ไม่เกินเกณฑ์การช่วยเหลือที่กำหนด โดยให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ เป็นเงิน ดังนี้

ชนิดสัตว์ อายุ อัตราตัวละไม่เกิน (บาท) เกณฑ์การช่วยเหลือต่อราย
โค - อายุน้อยกว่า 6 เดือน
- อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี
- อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 2 ปี
- อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป
13,000 บาท
22,000 บาท
29,000 บาท
35,000 บาท
ไม่เกินรายละ 5 ตัว
กระบือ - อายุน้อยกว่า 6 เดือน
- อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี
- อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 2 ปี
- อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป
15,000 บาท
24,000 บาท
32,000 บาท
39,000 บาท
ไม่เกินรายละ 5 ตัว
สุกร - อายุ 1 – 30 วัน
- อายุมากกว่า 30 วันขึ้นไป
1,500 บาท
3,000 บาท
ไม่เกินรายละ 10 ตัว
แพะ/แกะ - อายุ 1 – 30 วัน
- อายุมากกว่า 30 วันขึ้นไป
1,500 บาท
3,000 บาท
ไม่เกินรายละ 10 ตัว
ไก่พื้นเมือง/ไก่งวง - อายุ 1 – 21 วัน
- อายุมากกว่า 21 ขึ้นไป
30 บาท
80 บาท
ไม่เกินรายละ 300 ตัว
ไก่ไข่ - อายุ 1 – 21 วัน
- อายุมากกว่า 21 ขึ้นไป
30 บาท
100 บาท
ไม่เกินรายละ 1,00 ตัว
ไก่เนื้อ - อายุ 1 – 21 วัน
- อายุมากกว่า 21 ขึ้นไป
20 บาท
50 บาท
ไม่เกินรายละ 1,000 ตัว
เป็ดไข่ - อายุ 1 – 21 วัน
- อายุมากกว่า 21 ขึ้นไป
30 บาท
100 บาท
ไม่เกินรายละ 1,000 ตัว
เป็ดเนื้อ/เป็ดเทศ - อายุ 1 – 21 วัน
- อายุมากกว่า 21 ขึ้นไป
30 บาท
80 บาท
ไม่เกินรายละ 1,000 ตัว
นกกระทา - อายุ 1 – 21 วัน
- อายุมากกว่า 21 ขึ้นไป
10 บาท
30 บาท
ไม่เกินรายละ 1,000 ตัว
นกกระจอกเทศ - 2,000 บาท ไม่เกินรายละ 10 ตัว
ห่าน - 100 บาท ไม่เกินรายละ 300 ตัว

8.หลักเกณฑ์การสนับสนุนพันธุ์พืชอาหารสัตว์และเสบียงสัตว์ พ.ศ. 2564

1. การสนับสนุนพันธุ์พืชอาหารสัตว์และเสบียงสัตว์ แก่เกษตรกร ในแต่ละครั้ง ตามหลักเกณฑ์ดังนี้

ชนิดพืชอาหารสัตว์ จำนวนการจัดสรร
เมล็ดพันธุ์ ไม่เกิน 10 กิโลกรัม
ท่อนพันธุ์ ไม่เกิน 500 กิโลกรัม
กล้าพันธุ์ ไม่เกิน 50 ถุง
พืชอาหารสัตว์สด ไม่เกิน 500 กิโลกรัม
พืชอาหารสัตว์หมัก ไม่เกิน 500 กิโลกรัม
อาหารผสมครบส่วน(อาหาร TMR) ไม่เกิน 500 กิโลกรัม
ผลพลอยได้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ไม่เกิน 500 กิโลกรัม
พืชอาหารแห้ง ไม่เกิน 500 กิโลกรัม

2. การสนับสนุนพันธุ์พืชอาหารสัตว์และเสบียงสัตว์ แก่กลุ่มเกษตรกรหรือส่วนราชการ ในแต่ละครั้ง ตามหลักเกณฑ์ดังนี้

ชนิดพืชอาหารสัตว์ จำนวนการจัดสรร
เมล็ดพันธุ์ ไม่เกิน 100 กิโลกรัม
ท่อนพันธุ์ ไม่เกิน 5,000 กิโลกรัม
กล้าพันธุ์ ไม่เกิน 500 ถุง
พืชอาหารสัตว์สด ไม่เกิน 5,000 กิโลกรัม
พืชอาหารสัตว์หมัก ไม่เกิน 5,000 กิโลกรัม
อาหารผสมครบส่วน(อาหาร TMR) ไม่เกิน 5,000 กิโลกรัม
ผลพลอยได้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ไม่เกิน 5,000 กิโลกรัม
พืชอาหารแห้ง ไม่เกิน 5,000 กิโลกรัม

หมายเหตุ

1. หัวหน้าหน่วยผลิต ปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์เขต มีอำนาจให้การสนับสนุน ตามจำนวนที่กรมปศุสัตว์จัดสรร เท่านั้น

2. กรณีเกิดอำนาจการจัดสรร ให้ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เป็นผู้พิจารณา


9. ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ

การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ ด้านปศุสัตว์ ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ


1. ข้อมูลการเตรีมพร้อมรับมือภัยภิบัติ จาก หน่วยงานต่าง ๆ

เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ ในการป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน

แหล่งข้อมูลในการเตรีมพร้อมรับมือภัยภิบัติ จาก หน่วยงานต่าง ๆ


คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

กรมอุตุนิยมวิทยา

big data กรมชลประทาน

โดย สำนักงานปศุสัตว์เขต7

32 ถนนมาลัยแมน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000

โทรศัพท์ 0-3425-0982 อีเมล์ rg07_npt@dld.go.th