วันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 นายชุมพล บุญรอด ปศุสัตว์เขต 7 เป็นประธานการประชุมการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ณ ห้องประชุมสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุพรรณบุรีโดยมีนายเยี่ยม คงสวัสดิ์ ปศุสัตว์จังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมด้วยหัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ และปศุสัตว์อำเภอ เข้าร่วมประชุม สรุปวิธีการ/แนวทางการดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ในฟาร์มสุกร เพิ่มขึ้นอีก
1. จังหวัดสุพรรณบุรี พบโรค ASF จำนวน 3 ฟาร์ม โดยเป็นฟาร์มสุกรรายย่อย
2. สาเหตุการเกิดโรคคาดว่าน่าจะเกิดจาก(1) การนำลูกสุกรที่มีเชื้อโรคเข้ามาเลี้ยง (2)รถขนส่งสุกรที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้ามาในฟาร์ม(3) การนำเนื้อสุกร ที่ปนเปื้อนเชื้อโรคมาปรุงอาหารแล้วน้ำล้างเนื้อสุกรไหลไปยังคอกสุกร
3. การดำเนินการแก้ไขปัญหา ในฟาร์มสุกรรายย่อย
3.1 เร่งขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงสุกร และประเมินความเสี่ยงฟาร์มสุกร ในระบบ E-smart plus
3.2 จัดตั้งกลุ่ม / กลุ่มไลน์ เพื่อ ประชาสัมพันธ์ การป้องกันโรค การแจ้งโรค การอนุญาตเคลื่อนย้าย เป็นต้น
3.3 จัดทำข้อมูลวงจรการเลี้ยงสุกร ในกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย เริ่มตั้งแต่ ขึ้นทะเบียนฟาร์ม, จัดตั้งกลุ่ม, ข้อมูลแหล่งที่มาของลูกสุกร , แหล่งที่มาของอาหารสัตว์ , แหล่งที่ไปของสุกร, รายชื่อพ่อค้า ฯลฯโดยส่วนสุขภาพสัตว์ ร่วมกับ กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ และปศุสัตว์อำเภออู่ทอง จะทำโมเดลนำร่องที่อำเภออู่ทอง
4. เร่งส่งเสริม ผลักดันยกระดับฟาร์มสุกร ให้ผ่านการรับรองฟาร์ม GFM หรือ ฟาร์ม GAP
5. ควบคุมการเคลื่อนย้าย เช่น ตรวจสอบการขายสุกร ในสื่อสังคมออนไลน์
6. กรมปศุสัตว์ควรกำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์การขออนุญาตนำสุกรเข้าเลี้ยงใหม่ ควรแจ้งปศุสัตว์อำเภอ เพื่อตรวจประเมินฟาร์มก่อนลงเลี้ยงใหม่ นอกจากเพื่อเป็นการป้องกันโรคแล้วยังสามารถทราบจำนวนสุกรที่แน่นอนได้ด้วย และป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโดยการประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสาธารณสุขอำเภอ
7. สามารถศึกษาระเบียบ หนังสือสั่งการ Infographic เกี่ยวกับโรค ASF ได้ที่ เวปไซต์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 7